Dry skin

เบื้องต้นผิวแห้งนิยามกันด้วยความรู้สึก  ผู้คนรู้สึกว่าผิวตัวเองแห้งเพราะมองว่ารู้สึกไม่สบายผิว แห้งตึง และอาจหยาบกร้านด้วย และคิดกันว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมจะช่วยบรรเทาได้  อาการเหล่านี้บางครั้งอาจมาพร้อมกับอาการคันและความรู้สึกแสบร้อนด้วย  อย่างไรก็ตาม แพทย์จะตัดสินว่าผิวแห้ง (มีการใช้คำว่า “ภาวะผิวแห้ง” (xerosis) ด้วย) โดยพิจารณาจากเกณฑ์ที่ไม่ได้อิงความรู้สึกเป็นหลัก เช่น ลักษณะที่หมองคล้ำ อาการทางคลินิกเฉพาะของผิวหนังที่ลอกออก ผิวแห้งแตก มีการอักเสบในบางครั้ง และการสูญเสียความยืดหยุ่น  ความผิดปกติบนพื้นผิวหนังมีความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีกสำหรับผิวแห้ง   ผิวแห้งมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ต่อการพัฒนาของผื่นภูมิแพ้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปของผื่นกลากน้ำนม (Pityriasis Alba)  (ผิวแห้งเป็นหย่อมๆ) โดยทั่วไปมักปรากฏบนแก้มและแขนของเด็กที่มีผิวแห้งจากระบบร่างกาย (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้)  ในขอบเขตนิยามของผิวแห้ง มีระดับต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

Dry skin
ผิวแห้ง: รู้สึกไม่สบายผิวชั่วคราว แห้งตึงเล็กน้อย และลอกเล็กน้อย
Dry skin
ผิวแห้งมาก: รู้สึกไม่สบายผิวและแห้งตึงมาก ผิวลอกอย่างรุนแรง มีรอยแยก ผิวแตก
Scratching - Eczema
ภาวะผิวแห้งก่อนเป็นภูมิแพ้: ผิวหยาบกร้าน แห้ง (ผิวแห้งเป็นหย่อมๆ) และระคายเคืองเล็กน้อย

ผิวสุขภาพดีได้รับการปกป้องโดยธรรมชาติบนพื้นผิวของมันเองด้วยชั้นไขมันและน้ำที่เคลือบบนผิวหนัง (hydrolipidic film) ซึ่งประกอบด้วยน้ำและไขมัน  (sebum) เป็นส่วนใหญ่  ชั้นนี้จะซึมผ่านไม่ได้ ช่วยปกป้องผิวจากสิ่งคุกคามจากภายนอก และลดการสูญเสียน้ำ  เมื่อชั้นบนของผิวหนังชั้นหนังกำพร้าขาดสมดุลที่ดีระหว่างน้ำและไขมัน มันก็จะไม่สามารถทำหน้าที่เกราะป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป และทำให้รู้สึกไม่สบายผิวในระดับต่างๆ ตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น ตรงกันข้ามกับผิวขาดน้ำ ผิวแห้งหรือแห้งมากเป็นภาวะเรื้อรังซึ่งมักเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นประเภทของผิวอย่างหนึ่ง เช่น ผิวมัน ผิวผสม เป็นต้น นอกจากความแห้งโดยกำเนิดหรือจากระบบร่างกายแล้ว ยังมีสภาพผิวแห้งที่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น

Water drops
Pollution
สภาพภายนอก สภาพแวดล้อมหรือสภาพอากาศ โรคผิวหนัง (ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคสะเก็ดเงิน ฯลฯ)
Microbiomy
การเจ็บป่วยทั่วไป (ไทรอยด์ เบาหวาน ภาวะขาดสารอาหาร ฯลฯ)
Pills
และ/หรือการรักษาพยาบาล

Dry to Very Dry skin

ผิวแห้งหรือผิวแห้งมากเป็นตัวกำหนดประเภทของผิวโดยเฉพาะ เป็นภาวะถาวรที่มีลักษณะแห้งตึงทั่วใบหน้าและร่างกาย ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเกราะป้องกันผิว  ผิวจะบอบบาง มีความแห้งและมีรอยแดง ขาดน้ำและไขมัน 

Dehydrated skin

ผิวขาดน้ำอาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกสภาพผิวในคราวเดียวหรือหลายครั้งในช่วงชีวิตก็ได้ เป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวที่กู้คืนสู่สภาพเดิมได้ มีลักษณะคือผิวแห้งตึงเฉพาะจุดเป็นครั้งคราวเนื่องจากการจับตัวกันได้ไม่ดีและการสูญเสียน้ำ ผิวขาดความชุ่มชื้น ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและบางครั้งก็ขึ้นเป็นเกล็ด

Skin changes with age

บางคนเกิดมามีผิวแห้ง เป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม  นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าผิวหนังเปลี่ยนแปลงไปตามอายุด้วย  ในเด็ก ผิวจะแห้งกว่า (ยกเว้นในทารกวัยแรกเกิด อย่างไรก็ตาม การสูญเสียน้ำมีความสำคัญมากกว่าในวัยดังกล่าว) แล้วจะมีความมันมากขึ้นในช่วงวัยรุ่นและจะกลับมาแห้งอีกครั้งในวัยผู้ใหญ่ (ต่อมไขมันและต่อมเหงื่อทำงานได้น้อยลง)  การเสื่อมสภาพของผิวตามธรรมชาติทำให้ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าบางลง (เนื่องจากอัตราการสร้างเซลล์ใหม่ลดลง) และผิวหนังชั้นนอกสุด (horny layer) จะหนาขึ้น

หากคุณรู้สึกไม่สบายผิวเป็นเวลานาน แนะนำให้พบแพทย์ผิวหนังที่สามารถวินิจฉัยได้ว่าคุณมีผิวแห้งหรือผิวขาดน้ำหรือไม่  หากจู่ๆ ผิวก็แห้ง ควรพิจารณาหาปัจจัยกระตุ้น ซึ่งอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (การทำงานในสภาพอากาศที่ต่างไปจากเดิม การทำกิจกรรมที่ทำให้ผิวหนังแห้ง เช่น ว่ายน้ำในสระ หรือใช้สบู่หรือเจลอาบน้ำที่มีฤทธิ์รุนแรงหลังเล่นกีฬา) โรคภายในหรือการรักษาด้วยยา (ยาลดคอเลสเตอรอล ฯลฯ ) หากมีปัจจัยใดที่เป็นสาเหตุ ก็ควรแก้ไขให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

Bioderma - skin expert

นอกจากจะทำให้รู้สึกไม่สบายผิวแล้ว ผิวแห้งยังเอื้อให้สารระคายเคืองและสารก่อภูมิแพ้แทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ ทั้งยังส่งเสริมให้สภาพบางอย่างปรากฏขึ้นหรือคงอยู่ไม่หายไป (ผื่นภูมิแพ้อักเสบ โรคสะเก็ดเงิน)  ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการเติมน้ำกลับสู่ผิว ขั้นแรกคือการดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ นอกจากนี้ การเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองก็เป็นสิ่งสำคัญเสมอ ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ทำให้ผิวกลับมาเปล่งปลั่ง ไม่ผสมสารชะล้าง (detergent) และหากจำเป็นแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแบบคืนความชุ่มชื้นให้ผิว (ในรูปของน้ำนม ครีม บาล์ม ขี้ผึ้ง และน้ำมัน ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ใช้และระดับความแห้งกร้าน) จุดมุ่งหมายคือเพื่อลดการระเหยของน้ำ รักษาปริมาณน้ำให้เพียงพอในผิวหนังชั้นหนังกำพร้า และซ่อมแซมเกราะป้องกันผิวที่บกพร่อง
หลีกเลี่ยงบรรยากาศที่ร้อนจัดและอบอ้าวของอพาร์ตเมนต์ พยายามดื่มน้ำ 1.5 ลิตร ต่อวัน (เว้นแต่แพทย์จะสั่งเป็นอย่างอื่น)

Woman drinking water

ล้างหน้าวันละครั้งหรือสองครั้งด้วยคลีนเซอร์สูตรอ่อนโยนซึ่งจะไม่ทำลายเกราะป้องกันผิว
ซับผิวเบาๆเพื่อให้ผิวแห้ง โดยไม่ต้องถู

Woman washing her face with water

ทุกเช้าและเย็นหลังการทำความสะอาด ให้ทาผลิตภัณฑ์บำรุงที่ให้ความชุ่มชื้นและทำให้ผิวนวลนุ่มอย่างเบามือเพื่อบรรเทาความรู้สึกตึงผิวและปกป้องผิวจากสิ่งคุกคามจากภายนอก อย่าลืมบำรุงผิวหน้าและผิวกายด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

Woman applying cream