เมื่อผิวต้องเผชิญกับมลภาวะ เช่น แสงแดด ฝุ่นควัน และสภาพแวดล้อม รวมไปถึงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นและทำให้ปราการผิวอ่อนแอลง จึงส่งผลให้เกิดภาวะผิวแห้ง (Dry skin หรือ Xerosis) หรือ ผิวแห้ง เป็นขุย ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่น้ำมันเคลือบผิวมีปริมาณลดลงและเกิดการสูญเสียน้ำในผิวหนัง จึงทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น แห้งเป็นขุยและไม่เรียบเนียน ตลอดจนเกิดอาการระคายผิวได้ง่าย 

ทำไมผิวหนังจึงต้องการความชุ่มชื้นอยู่เสมอ?

ผิวแห้งเป็นขุย ผิวขาดความชุ่มชื้น มีสาเหตุหลักมาจากการขาดความชุ่มชื้นจากหลายปัจจัย โดยปกติแล้วเราทุกคนจะมีเกราะป้องกันผิวหนัง หรือที่เรียกว่า Skin Barrier เพื่อปกป้องผิวหนังให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 

  • ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าหรือผิวชั้นนอกจะประกอบไปด้วยเซลล์ผิวหนัง เซลล์เม็ดสี กรดอะมิโน น้ำ และไขมันที่ทำหน้าที่ในการกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ที่ผิวหนังและป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิว รวมไปถึงเซราไมด์ กรดไขมัน และโคเลสเตอรอล 
  • ผิวหนังแท้หรือผิวหนังชั้นลึกนั้นจะประกอบไปด้วยคอลลาเจน อีลาสติน และกรดไฮยารูลอนิก ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำเก็บไว้ในชั้นหนังแท้ เพื่อให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่นได้ดี รวมถึงมีต่อมไขมันที่ทำหน้าที่ขับไขมันออกมาเคลือบผิวหนังชั้นนอกไม่ให้ผิวแห้งนั่นเอง

 

ซึ่งหากเกราะป้องกันผิวหนังเสื่อมสภาพลงหรือเสียสมดุล จะทำให้ความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ที่ผิวหนังลดลงและผิวหนังชั้นหนังกำพร้าบางลงได้ โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดดได้ง่าย เช่น ใบหน้า คอ หลังมือ และแขน ทำให้ผิวแห้งเป็นขุย แห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น และส่งผลให้ผิวดูโทรมแก่กว่าวัยได้ โดยปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ผิวแห้งมากขึ้น ได้แก่

   1. ผิวขาดความชุ่มชื้นจากปัจจัยภายใน เช่น อายุที่มากขึ้น โรคไต การขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ขาดสารอาหาร ขาดน้ำ หรือได้รับยารักษาโรคบางชนิด

   2. ผิวขาดความชุ่มชื้นปัจจัยภายนอก เช่น อากาศแห้ง อากาศที่หนาวเย็น การอาบน้ำบ่อยๆ หรือใช้ครีมอาบน้ำที่มีความเป็นด่างสูง  

การเติมความชุ่มชื้นให้ผิวแห้งเป็นขุย ทำได้อย่างไร?

การเติมความชุ่มชื้นให้กับผิวสามารถทำได้ตั้งแต่ขั้นตอนการอาบน้ำ เพราะการอาบน้ำไม่เพียงแต่ช่วยล้างสิ่งสกปรกที่ติดอยู่บนผิวหนังเท่านั้น แต่ยังสามารถชะล้างน้ำมันและความชุ่มชื้นบนผิวออกไปด้วย ซึ่งหากอาบน้ำอย่างถูกวิธีจะช่วยให้ผิวที่แห้งเป็นขุยกลับมาสดชื่นและชุ่มชื้นได้ โดยสามารถทำตามได้ง่ายๆ ดังนี้ 

   1. ปรับอุณหภูมิน้ำที่อาบ

การอาบน้ำด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสมเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ทำให้ผิวชุ่มชื้น สุขภาพดี โดยเลือกอาบน้ำเย็นหรือน้ำอุณหภูมิปกติ (ไม่เกิน 37 องศาเซลเซียส) เพื่อลดการระเหยของน้ำออกจากผิว เพราะน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนจะทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นและแห้งตึงหลังอาบน้ำ รวมถึงทำให้ความยืดหยุ่นของผิวหนังลดลงและมีส่วนเร่งกระบวนการผลัดเซลล์ผิวให้เกิดเร็วขึ้น จึงทำให้เซลล์ผิวหนังที่ยังไม่สมบูรณ์ลอกออกมาก่อนเวลา

 

   2. จำกัดระยะเวลาในการอาบน้ำ

ในการอาบน้ำแต่ละครั้ง ควรจำกัดเวลาในการอาบน้ำให้ไม่เกิน 10-15 นาที เพื่อป้องกันการขาดน้ำจากผิวหนัง รวมถึงอาจทำให้ทำให้ร่างกายเสียสมดุลในการปรับอุณหภูมิของร่างกาย จนอาจก่อให้เกิดปัญหาผิวแห้งหรือผิวขาดความชุ่มชื้นได้ แต่หากใครชื่นชอบการอาบน้ำนานๆ หรือแช่ตัวในอ่างน้ำ แนะนำให้หยดออยล์อาบน้ำหรือใช้เจลอาบน้ำสูตรออยล์ (Shower Oil) เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว

 

   3. ใช้เจลอาบน้ำสูตรออยล์

สบู่หรือครีมอาบน้ำบางตัวอาจมีความเป็นด่างสูงหรือมีปริมาณของสารเคมีบางชนิดที่เข้มข้นมากจนเกินไป ซึ่งจะทำให้น้ำมันธรรมชาติของผิวถูกชำระล้างออกไปด้วย จึงทำให้รู้สึกแห้งตึงผิวหลังอาบน้ำ หรืออาจทำให้เกิดการระคายผิวได้ สำหรับคนที่มีผิวแห้ง เป็นขุย และอยากให้ผิวชุ่มชื้นมากขึ้น ควรเลือกใช้ครีมอาบน้ำที่มีสารเติมเต็มความชุ่มชื้นหรือเจลอาบน้ำสูตรออยล์ เพื่อช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นให้กับผิวและทำให้ผิวกายเนียนนุ่ม เงาสวย และไม่แห้งกร้าน

ข้อดีของเจลอาบน้ำสูตรออยล์ (Shower Oil) 

เจลอาบน้ำสูตรออยล์หรือออยล์อาบน้ำ (Shower Oil) เป็นครีมอาบน้ำเนื้อออยล์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันตามธรรมชาติในผิว สามารถใช้อาบกับน้ำอุ่นได้โดยไม่ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น ไม่ทิ้งความแห้งตึง ปลอบประโลมผิวแห้งเป็นขุยให้รู้สึกสบายผิวขึ้น เจลอาบน้ำสูตรออยล์ยังช่วยฟื้นบำรุงให้ผิวชุ่มชื้นได้ด้วยข้อดีอีกหลายประการ เช่น 

  • เจลอาบน้ำสูตรออยล์สามารถใช้ได้ทั้งผิวหน้าและผิวกาย สามารถชำระล้างสิ่งสกปรกบนผิวกายได้อย่างหมดจดโดยไม่ทำร้ายปราการผิว 
  • เจลอาบน้ำสูตรออยล์ปราศจากสารที่ลดปริมาณน้ำในผิว ทำให้ผิวยังคงความชุ่มชื้นได้อย่างสมดุล
  • เจลอาบน้ำสูตรออยล์ช่วยฟื้นบำรุงผิวที่แห้งกร้านให้กลับมาชุ่มชื้นและเนียนนุ่ม รวมถึงช่วยให้ผิวดูเงาสวย เปล่งปลั่งดูมีสุขภาพดี
  • เจลอาบน้ำสูตรออยล์กลิ่นหอมติดผิวยาวนานกว่าครีมอาบน้ำหรือสบู่ทั่วไป จึงช่วยเพิ่มความผ่อนคลายในการอาบน้ำได้มากยิ่งขึ้น

เจลอาบน้ำเพื่อผิวแห้งเป็นขุย ยี่ห้อไหนดี?

สำหรับผิวแห้งเป็นขุยที่ต้องการการฟื้นบำรุงให้ผิวชุ่มชื้น แข็งแรง ไม่แพ้ง่าย ควรเลือกใช้เจลอาบน้ำสูตรออยล์แทนการใช้สบู่หรือครีมอาบน้ำทั่วไป โดยอาจมีส่วนผสมที่ลดการสร้าง Biofilm สาเหตุของผิวแห้งเป็นขุยและระคายง่าย อย่าง เจลอาบน้ำสูตรออยล์ 2 สูตรจาก Bioderma 

เจลอาบน้ำสูตรออยล์ Atoderm Huile De Douche  สำหรับผิวแห้ง แห้งมาก เป็นขุยและระคายง่าย สามารถใช้อาบได้ทั้งผิวหน้าและผิวกาย เนื้อเจลสีใสเสริมการสร้างเซราไมด์ (Ceramides) , กรดไขมันอิสระ (Free Fatty Acid)  และ คอเลสเตอรอล (Cholesterol)  อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำมันบนปราการผิว มาพร้อมสารแอนตี้ออกซิแดนท์ช่วยให้ผิวแข็งแรง ไม่ระคายง่าย และคืนความชุ่มชื้นให้ผิวหนังได้อย่างยาวนาน 

  • ไม่มีส่วนผสมของพาราเบน
  • ผ่านการทดสอบว่าไม่ทำให้เกิดสิว
  • ผ่านการทดสอบการระคายต่ำ โดยเฉพาะบริเวณรอบดวงตา

เจลอาบน้ำ Atoderm Gel Douche สูตรอ่อนโยนสำหรับผิวธรรมดาและผิวแห้ง สามารถทำความสะอาดผิวได้หมดจดพร้อมมอบความชุ่มชื้นและเสริมปราการผิวให้แข็งแรงด้วยส่วนผสมของ SKIN PROTECT COMPLEX ผ่านการทดสอบว่าอ่อนโยนต่อผิวและบริเวณรอบดวงตา

ปราศจากส่วนผสมของพาราเบน สบู่ และสารแต่งสี

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากปลุกความชุ่มชื้นให้กับผิวในขั้นตอนการอาบน้ำแล้ว ควรทาครีมบำรุงผิวเพื่อล็อกความชุ่มชื้นให้อยู่ในชั้นผิวได้ยาวนานขึ้น เช่น โลชั่น ครีมบำรุงผิวหรือมอยเจอร์ไรเซอร์ เพื่อช่วยปรับสมดุลของความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยฟื้นบำรุงให้ผิวที่แห้งกร้าน ผิวแห้งเป็นขุยให้กลับมาเป็นผิวชุ่มชื้นสุขภาพดีได้อีกครั้ง 

BIODERMA Atoderm Gel douche เจลอาบน้ำปราศจากสบู่ สูตรอ่อนโยนต่อปราการผิว

คลีนเซอร์แบบล้างออก

ผิวธรรมดาถึงผิวแห้งแพ้ง่าย

สิทธิบัตร Skin Protect Complex

Atoderm Gel douche

เจลอาบน้ำปราศจากสบู่ สูตรอ่อนโยนต่อปราการผิว

สำหรับใคร

สำหรับทุกคนในครอบครัว (ยกเว้นทารกที่คลอดก่อนกำหนด)

BIODERMA Atoderm Huile de douche ออยล์อาบน้ำ ที่ให้ผิวชุ่มชื้นยาวนาน 24 ชั่วโมง

คลีนเซอร์แบบล้างออก

ผิวแห้งมาก ระคายต่อผิวแพ้ง่าย

สิทธิบัตร Skin barrier therapy™

Atoderm Huile de douche

ออยล์อาบน้ำที่ให้ผิวชุ่มชื้นยาวนาน 24 ชั่วโมง
รู้สึกได้ว่าผิวสบายทันทีหลังอาบน้ำ

สำหรับใคร

สำหรับทุกคนในครอบครัว (ยกเว้นทารกที่คลอดก่อนกำหนด)