อาการภูมิแพ้กำเริบ อาจทำให้เกิดภาวะผิวหนังเป็นผื่นขึ้นตามตัว เป็นรอยตุ่มแดง หรือผดผื่นเล็กๆ ที่ส่งผลให้ผิวคุณไม่เรียบเนียน ทั้งยังส่งผลให้เกิดรอยแผลเป็นได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง แล้วลักษณะอาการผื่นลมพิษ , ผื่นแดง และผื่นขึ้นตามตัวคันเกิดจากอะไร? ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ขึ้นตามผิวหนังบ้าง? 

วันนี้ทาง Bioderma จึงมาอธิบายจุดเริ่มต้นของผื่นขึ้นตามตัว ตั้งแต่ภาวะแทรกซ้อน ประเภทผื่นคัน วิธีรักษา รวมไปถึงวิธีดูแลผิวที่มีปัญหาผื่นขึ้นตามตัวด้วยตัวเองในบทความนี้

 

สารบัญบทความ

ผื่นขึ้นตามตัว ปัญหารำคาญใจของใครหลายๆคน 

ภาวะผื่นขึ้นตามตัว (Skin rash) คือ ผิวหนังที่บังเอิญถูกกระตุ้นจากการสัมผัส การรับประทาน การสูดดม หรือปัจจัยทางพันธุกรรม ที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง ทำให้สภาพผิวหนังเกิดอาการอักเสบ โดยลักษณะทางกายภาพจะเป็นผดขึ้นตามตัวเม็ดเล็กๆ ผื่นลมพิษ เป็นตุ่มน้ำใส หรือเกิดตุ่มแดงขึ้นตามตัวคันตามทั่วร่างกาย 

ซึ่งหากปล่อยอาการผื่นขึ้นตามตัวไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะก่อให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง จนผิวหนังลอกออกมาเป็นขุย ผื่นเม็ดเล็กๆ ขึ้นตามตัวเรื่อยๆ จนกลายเป็นผื่นขึ้นตามตัวเรื้อรังได้

อาการผื่นขึ้นตามตัว ผื่นแดงคัน เกิดจากสาเหตุใด 

ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการผื่นขึ้นตามตัว จนนำไปสู่สภาวะลมพิษผื่น เกิดได้จาก 2 สาเหตุหลักดังนี้

ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดผื่นขึ้นตามตัว

  • กรรมพันธุ์ หากภายในครอบครัวมีผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น มีอาการเยื่อบุตาอักเสบ แพ้อากาศ ไอ จามบ่อย ๆ หรือหอบหืด ก็มีแนวโน้มที่ลูกหลานจะมีผิวที่ไวต่อการเกิดผื่นภูมิแพ้ได้มากกว่าปกติ
  • สภาวะจิตใจ หากสภาพจิตใจแปรปรวน มีภาวะความเครียดสะสม จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายผิดปกติ จนเกิดอาการคัน มีผื่นขึ้นตามตัว ตามผิวหนัง นำไปสู่โรคผิวหนังกำเริบได้
ผื่นขึ้นตามตัวปัจจัยภายใน

ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดผื่นขึ้นตามตัว

  • ของใช้จิปาถะ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่น สบู่ โลชัน เซรั่ม ครีมบำรุงผิว หรือแม้กระทั่งผงซักฟอกที่ใช้ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าห่ม มักมีสารเคมีประกอบที่มีฤทธิ์ละลายคราบไขมัน เมื่อสัมผัสกับร่างกาย อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการระคายเคืองผื่นขึ้นตามตัว และมีตุ่มแดงคันขึ้นตามตัว
  • อาหาร ผู้ที่มีอาการลมพิษจากการแพ้อาหาร อาจทำให้ผิวหนังมีผื่นขึ้นตามตัวจนกำเริบลามไปถึงระบบหายใจให้เกิดภาวะหอบหืด โดยส่วนใหญ่อาหารแสลงที่คนไทยส่วนใหญ่จะแพ้ มักเป็นเนื้อสัตว์ (หมู , วัว) อาหารทะเล (กุ้ง , ปู , ปลาหมึก) โปรตีนจำพวกไข่ วัตถุดิบจากนมวัว (นม , ชีส , เนย , โยเกิร์ต , ไอศกรีม) ธัญพืชตระกูลถั่ว (อัลมอนด์ , แมคคาเดเมีย , วอลนัท , เมล็ดสน) 
  • เครื่องแต่งกาย ที่ทำจากหนังสัตว์ ทอจากขนสัตว์แท้ (แกะ , วัว) หรือทอจากใยสังเคราะห์ (โพลีเอสเตอร์ , เรยอน , ไนลอน , ยาง , สแปนเดกซ์) จะมีรูระบายอากาศไม่ดี ทำให้เหงื่อสะสม เกิดภาวะอับชื้น เป็นคราบสกปรก ก่อให้ผิวเกิดการระคายเคือง จนเกิดภาวะแพ้เหงื่อตัวเอง ผื่นขึ้นตามตัว และเกิดจุดแดงรอบๆ 
  • สภาพแวดล้อมปัจจุบัน สภาวะอากาศร้อนอบอ้าว หนาว หรือชื้นมากเกินไป อาจทำให้ผิวหนังเกิดภาวะแพ้แบบฉับพลัน และการสัมผัสกับไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสร เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดผื่นขึ้นตามตัวเช่นกัน
  • ฤดูกาล ในช่วงฤดูหนาว ผิวหนังจะแห้งเป็นพิเศษ ก่อให้เกิดอาการคันผิวหนังจนลอกออกมาเป็นขุย ส่วนช่วงฤดูฝนอากาศจะชื้น ทำให้เหงื่อไม่ได้รับการระบายที่ดีอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้นตามตัว และส่วนฤดูร้อนเหงื่อจะออกเยอะปานกลางจนไปถึงมาก อาจมีอาการคัน ระคายเคือง เป็นลมพิษ
ผื่นขึ้นตามตัวปัจจัยภายนอก

ภาวะแทรกซ้อนหากมีอาการผื่นขึ้นตามตัว 

หากปล่อยอาการลมพิษ ตุ่มแดง ผดผื่นขึ้นตามตัวไว้โดยไม่ทำการรักษาให้หายสนิท จะเกิดภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้ 

  • ภาวะแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) ผู้ป่วยจะมีภาวะแพ้แบบเฉียบพลันหลังจากสัมผัสสิ่งที่กระตุ้นปฏิกิริยาภูมิแพ้ ลักษณะทางกายภาพจะมีอาการบวม มีผื่นขึ้นตามตัวตามบริเวณทั่วร่างกาย มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ทางเดินหายใจอุดตัน มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน รวมไปถึงอาการความดันต่ำจนหน้ามืด เกิดภาวะช็อก นำไปสู่การเสียชีวิตทันที

สิ่งที่จะบรรเทาภาวะแพ้รุนแรงเฉียบพลันได้ คือ การฉีดยาอะดรีนาลิน (Epinephrine injection) กับแพทย์เท่านั้น

 

  • การติดเชื้อโรคทางแผลผิวหนัง (Dermatitis Infection) ลักษณะตุ่มแดง ผดผื่นผิวหนังตามตัว หรือตุ่มน้ำใส ที่เกิดเป็นแผลเปิดออก อาจทำให้เชื้อโรค แบคทีเรีย เข้าสู่บริเวณแผลในชั้นผิวหนังได้ 

ประเภทของผื่นที่ขึ้นตามตัว 

โรคผื่นขึ้นตามตัวทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 โรคตามผิวหนัง ดังนี้

 

ผื่นคันทั่วไป (Generalized Rash)

สาเหตุ 

  • เป็นลักษณะผื่นแพ้อากาศตามลมฤดูกาล โดยเฉพาะฤดูหนาว จะพัดเกสรดอกไม้ ฝุ่น PM2.5ขึ้นมาในอากาศ จนอาจให้เกิดรอยผื่นคันตามตัว เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ ที่ทำลายสารแอนติออกซิแดนซ์ภายในผิวหนังให้มีปริมาณน้อยลง หรือภาวะอากาศแห้งทำให้เกิดอาการคันเนื้อคันตัวจนเป็นผื่นคันผดเล็กๆ หรือตุ่มแดง ตามแนวข้อศอก แขน ขา และตามคอ

วิธีดูแลเบื้องต้น

  • อาบน้ำอุณหภูมิปกติ ยิ่งน้ำเย็นยิ่งดีจะช่วยให้ผิวหนังได้รับความชุ่มชื้น เพราะการอาบด้วยน้ำอุ่นจะทำให้ผิวหนังแห้งกร้าน ก่อให้เกิดการระคายเคืองสูง
  • ใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่อ่อนโยนต่อผิว มีค่าความเป็นกรด-ด่างสมดุล 
  • ใช้ครีมบำรุงผิวสูตรเพิ่มความชุ่มชื้น ไม่ใช้สารน้ำหอมระเหย เพื่อลดอาการผื่นขึ้นตามตัว ผิวหนังอักเสบ รวมไปถึงอาการระคายเคือง บำรุงสุขภาพผิว เติมคอลลาเจนสู่ผิวกายให้มีความเต่งตึง

 

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)

สาเหตุ 

  • เกิดจากการที่ผิวหนังได้รับการสัมผัสไรฝุ่น ฝุ่นละออง หรือสารเคมีที่มีมลภาวะต่อผิวหนังสูง 
  • ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิง , ฮอร์โมนคอร์ติโคสตีรอยด์ (Corticosteroids) และฮอร์โมนต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) มีการทำงานที่แปรปรวน จนทำให้ผิวหนังเกิดภาวะผื่นขึ้นตามตัว เป็นลมพิษตามผิวหนัง
  • ภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง
  • ผิวหนังแห้งกร้าน เกิดการระคายเคืองจนผิวหนังอักเสบ ตุ่มแดงขึ้นตามตัว ไม่คัน ไม่มีไข้

วิธีดูแลเบื้องต้น

  • อาบน้ำทันทีเพื่อชำระคราบฝุ่นและเหงื่อออก
  • สวมใส่เสื้อผ้าสบายตัว ไม่ควรใส่เสื้อที่รัดรูป เสี่ยงการเสียดสีระหว่างผ้าและผิว ที่ก่อให้เกิดอาการคันระคายเคือง
  • ทาครีมบำรุงผิวจำพวก โลชั่นเซรั่ม หลังอาบน้ำอย่างสม่ำเสมอ 
  • ทานยาแก้แพ้จำพวกกลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน (Antihistamines) ที่ช่วยบรรเทาอาการคัน ลมพิษ ผื่นขึ้นตามตัวแบบเบื้องต้น

 

ผื่นลมพิษ (Urticaria)

สาเหตุ 

  • ร่างกายเกิดภาวะปฏิกิริยาภูมิแพ้ทันที หลังจากสัมผัส รับประทาน สูดดม เช่น อาหาร ยา การสวมใส่เสื้อหนังสัตว์ หรือการดมเกสรดอกไม้ เป็นต้น 

วิธีดูแลเบื้องต้น

  • ทานยาแก้แพ้จำพวกกลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน (Antihistamines) ที่ช่วยบรรเทาอาการคัน ลมพิษ ผื่นขึ้นตามตัวแบบเบื้องต้น
  • ทาครีมบำรุงประเภท โลชั่นที่ไร้น้ำหอม 
  • ทาคาลาไมน์เพื่อลดอาการคัน ระคายเคือง และมีรอยผื่นขึ้นตามตัว
  • ห้ามแกะ เกา ขูด กับบริเวณผิวหนังที่มีผื่นลมพิษเด็ดขาด เนื่องจากยิ่งเกามากจะทำให้ผื่นแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่นำไปสู่ภาวะผื่นลมพิษ

 

ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis)

สาเหตุ 

  • เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์จำพวกสบู่ , ผงซักฟอก เครื่องสำอาง และครีมบำรุงผิว ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ระคายเคืองต่อผิวหนังทันที 

วิธีดูแลเบื้องต้น

  • งดการใช้ของจิปาถะที่ก่อให้เกิดภาวะผื่นขึ้นตามตัว มีตุ่มแดง และผดเล็กๆ
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ ไม่ใส่สารน้ำหอมระเหย และสารเคมีประกอบ
  • ใช้โลชั่นที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างสมดุล 
  • ทานยาแก้แพ้จำพวกกลุ่มสเตียรอยด์ในกรณีที่มีจุดแดงขึ้นตามตัวไม่คัน แต่หากมีภาวะอาการคันให้ทานยาแก้แพ้ร่วม

วิธีรักษาอาการผื่นขึ้นตามตัว 

การรักษาอาการผื่นขึ้นตามตัวที่สร้างความระคายเคืองแบบเบื้องต้น สามารถบรรเทาอาการด้วย 5 วิธีรักษา ดังนี้

  • การทานยาแก้แพ้ ชนิดทั่วไป ลดอาการคัน แสบผิว และระคายเคืองของผิวระยะเริ่มต้น
  • การทาครีมลดผิวหนังอักเสบ ชนิด คอร์ติโซน (Cortisone) ช่วยลดสภาวะผิวหนังอักเสบ และอาการแพ้และคันทั่วร่างกาย 
  • การอาบน้ำด้วยข้าวโอ๊ต การแช่น้ำอุ่นและอาบด้วยครีมข้าวโอ๊ตคอลลอยด์ จะช่วยบรรเทาอาการผื่นขึ้นตามตัวโดยเฉพาะผิวหนังที่แห้งกร้านได้ดี
  • การใช้ยาประเภทสเตียรอยด์ หากการทานยาแก้แพ้ไม่ได้ผล แพทย์อาจรักษาด้วยยาจำพวกครีมสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของผิวหนัง หรือแบบยารับประทาน
  • ยารักษากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ยาชนิดนี้จะเป็นแบบครีมทาผิวที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันผ่านผิวหนัง เช่นครีมทาโครลิมัส (Crolimus) และครีมพิเมโครลิมัส (Pimecrolimus) 

ผื่นขึ้นตามตัวรุนแรงขนาดไหนที่ควรพบแพทย์ 

ลักษณะอาการผื่นขึ้นตามตัวแบบไหน ที่ควรพบแพทย์ทันที จะมี 4 อาการเสี่ยงดังนี้

  • หายใจแรง หายใจติดขัด
  • ผื่นขึ้นตามตัวเฉียบพลันและแพร่กระจายทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว หรือมีไข้ร่วมด้วย
  • มีรอยแผลพุพอง ตุ่มน้ำใส สะเก็ดแตกเป็นแผลเปิด
  • แผลรอยผื่นขึ้นตามตัวมีหนองสีเหลืองออกมา

 

การวินิจฉัยของแพทย์ มีแบบไหนบ้าง

การพิสูจน์ของแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง จะใช้การวินิจฉัย 3 วิธีดังนี้ 

  • การตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อก้อนเล็กจากผิวหนังและเนื้อเยื่อ เพื่อทำการพิสูจน์หาเชื้อไวรัส แบคทีเรียในตัวอย่างก้อนเนื้อ
  • การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergy test) ได้แก่ การทำทดสอบสารภูมิแพ้ในอากาศ (Skin Prick Test) คือการใช้น้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ มาทดสอบผิวหนังผู้ป่วย เหมาะกับการพิสูจน์ภูมิแพ้ประเภทลมพิษเป็นอย่างมาก
  • การตรวจเลือด (Blood tests) เป็นการตรวจเช็คโรคผิวหนังที่ดูจากแอนติบอดีที่ไหลเวียนในเลือดในระบบอวัยวะส่วนอื่นๆ

4 วิธีดูแลและป้องกันผื่นขึ้นตามตัวดังกล่าว 

โดยทั่วไป ผู้ที่มีภาวะอาการผื่นขึ้นตามตัว สามารถดูแลรักษาตัวเองด้วย 4 วิธี ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และระคายเคืองผิวหนัง 

ผู้ที่มีผื่นขึ้นบ่อยๆ สามารถบรรเทาอาการผื่นขึ้นตามตัวได้ด้วยการหลีกเลี่ยงสถานที่ งดรับประทานอาหาร หรือแตะต้องสิ่งที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้นมา เพื่อให้ร่างกายชะลออาการและช่วยควบคุมโรคผื่นขึ้นตามตัวได้ 

ลดผื่นขึ้นตามตัวด้วยการหลีกเลี่ยง

2. ไม่ใช้สิ่งของหรือเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น 

เพราะการใช้สิ่งของกับเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น เราจะไม่รู้ว่าสารทำความสะอาดอย่างน้ำยาซักผ้า ผงซักฟอก อาจก่อให้เกิดอาการผื่นแพ้เสื้อผ้า ที่ระคายเคืองต่อผิวหนังคุณได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดผื่นขึ้นตามตัว ให้คุณใช้เสื้อผ้าและสิ่งของของตัวเอง แล้วใช้สารล้างคราบสกปรกที่อ่อนโยนเหมาะสมกับผิวตัวเองจะดีที่สุด

ลดผื่นขึ้นตามตัวด้วยการใช้ของตัวเอง

3. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยนต่อผิวหนัง 

ผู้ที่มีผิวหนังบอบบาง แพ้ง่าย เซนซิทีฟกับครีมบำรุงผิวหนังที่มีสารเคมีกับน้ำหอมระเหยประกอบสูง ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสูตรอ่อนโยนสำหรับผิวบอบบางแพ้ง่าย เพื่อรักษาสภาพผิวของตนเองให้มีความชุ่มชื้น ช่วยให้ผิวมีสุขภาพที่ดี มีความยืดหยุ่น พร้อมบำรุงปราการผิวให้แข็งแรงอยู่เสมอ 

 

คลิกที่นี่เพื่อดูผลิตภัณฑ์บำรุงผิว

ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสูตรอ่อนโยน

4. ล้างมือทำความสะอาดทันทีหลังจากพบกับผู้ป่วยโรคผิวหนัง

หลังจากเยี่ยมพบผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนัง ให้ล้างมือทำความสะอาดพร้อมสบู่ทันที เพื่อป้องกันสุขอนามัยที่ดี เนื่องจากมือเป็นอวัยวะที่ถูกการสัมผัสมากที่สุด และโรคผิวหนังสามารถเป็นโรคติดต่อได้ ดังนั้น กันไว้ดีกว่าแก้ ควรล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ 

 

คลิกที่นี่เพื่อดูผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว

ลดผื่นขึ้นตามตัวด้วยการล้างมือพร้อมสบู่

คำถามที่พบบ่อย

อาการของโควิด มีผื่นขึ้นตามตัวจริงหรือไม่ 

โควิด-19 มีอาการผื่นขึ้นตามตัวจริง โดยลักษณะผื่นที่เข้าเกณฑ์โรคโควิดจะมีดังนี้ 

  • ผื่นแดงลายตาข่าย เป็นเส้นใยเล็กๆ 
  • ตุ่มใสมีลักษณะคล้ายตุ่มน้ำสุกใส 
  • ผื่นบวมแดง มีลักษณะอาการคล้ายลมพิษ 

ข้อสรุป

ผื่นขึ้นตามตัว เป็นลักษณะอาการที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันผิวหนังบกพร่องจากร่างกายของตนเอง สามารถบรรเทาอาการด้วยการหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กำเริบ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายที่อ่อนโยนและช่วยเติมความชุ่มชื้นให้ผิวด้วยการทาครีมที่ปราศจากแอลกอฮอล์ น้ำหอมระเหย หากรักษาอาการเบื้องต้นด้วยการทานยาแก้แพ้แล้วผื่นขึ้นตามตัวยังไม่หาย ควรนัดพบแพทย์ทันที 

นพ.รวิ เรืองศรี. ภาวะแพ้อาหารในผู้ใหญ่ (Adult-onset food allergy). Sukumvithospital. https://sukumvithospital.com/content.php?id=3545

นิรนาม. สังเกตอาการแพ้ถั่วและวิธีรับมือก่อนเป็นอันตรายถึงชีวิต. Pobpad. https://www.pobpad.com

Faculty of Medicine Siriraj Hospital. (April 02 , 2022). ATOPIC DERMATITIS. Mahidol. https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=22