Key Takeaway

  • ผื่นคันเกิดได้จาก 2 ปัจจัยหลัก คือปัจจัยภายในอย่างกรรมพันธุ์ ความเครียด และปัจจัยภายนอกอย่างสภาพแวดล้อม เชื้อโรค เสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
  • ผื่นคันมี 6 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ผื่นจากผิวหนังอักเสบ ผื่นจากโรคภูมิแพ้ ผื่นจากโรคลมพิษ ผื่นจากแมลงกัดต่อย ผื่นจากผิวแห้ง และผื่นจากผิวขาดความชุ่มชื้น
  • สามารถตรวจหาสาเหตุของผื่นคันได้ 2 วิธีแก้ คือ การทดสอบทางผิวหนัง (T.R.U.E. test) โดยแพทย์ และการทดสอบด้วยตัวเอง (ROAT test)
  • วิธีดูแลและป้องกันผื่นคันที่สำคัญ เช่น ใช้ยาตามแพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว และหลีกเลี่ยงการเกาที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ

 


 

อาการคันตามผิวหนังมักมาพร้อมกับผื่นคันที่ทำให้ระคายผิวได้ หากเกาแล้วอาจทำให้ผื่นคันกระจายตัวไปในบริเวณกว้างได้ และปัญหาผื่นคันสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาอาจส่งผลให้ผิวบางกว่าเดิม อ่อนแอ เกิดความระคายได้ง่าย และอาจเกิดอาการอื่นแทรกซ้อนอื่นตามมา เช่น ผิวแห้งคัน ผิวลอก เป็นต้น

โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่ร้อนชื้นอย่างประเทศไทยอาจทำให้เกิดผื่นขึ้นตามตัวได้ง่ายเป็นพิเศษ แต่นอกจากปัจจัยภายนอกอย่างสภาพอากาศแล้วก็มีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดผื่นคันได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจกับผื่นคันเพื่อหาสาเหตุและวิธีการรักษาที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

 

ผื่นคัน คืออะไร

ผื่นคัน (Rash) คือ ลักษณะอาการทางผิวหนัง เช่น ผื่นขึ้นตามตัว มีตุ่มคันขึ้นตามตัว มีอาการระคายผิวตั้งแต่อาการคันไปจนจึงปวดแสบปวดร้อน ซึ่งเป็นอาการทางผิวหนังที่มีสาเหตุมาจากร่างกายปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมไม่ได้ เช่น อากาศร้อนที่เกินไป หรืออากาศหนาวเกินไป 

ทำให้เกิดเป็นผื่นแดง ผื่นขึ้นหน้า ผื่นขึ้นตามตัว หรือผดขึ้นตามผิวหนัง และทำให้มีอาการคันตามตัวได้ รวมไปถึงการสัมผัสกับสารเคมีหรือสิ่งกระตุ้นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์บางประเภทที่ส่วนผสมของสารเคมี ทำให้ผิวแพ้ง่าย เป็นผื่นแพ้ผิวหนัง หรือผิวแห้งจนก่อให้เกิดอาการระคายผิวตามมาได้

สาเหตุผื่นขึ้นตามตัว ผื่นแดงขึ้นตามตัว รวมไปถึงผิวแห้งที่ทำให้เกิดการระคายผิวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยลักษณะของผื่นคัน ผื่นแพ้ต่างๆ นั้นจะมีความแตกต่างกันออกไปตามสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นแพ้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 
 

ปัจจัยภายใน

  • ผื่นแพ้ผิวหนังจากกรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นผดผื่นคันหรือโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว สมาชิกในครอบครัวคนอื่นก็มีแนวโน้มที่จะเกิดผื่นคัน หรือมีอาการแพ้ที่ส่งผลให้เกิดผื่นแพ้ผิวหนังได้ด้วย
     
  • ผื่นคันจากความเครียด ความเครียดและความวิตกกังวลส่งผลต่อระบบการทำงานในร่างกายและอาจทำให้ผิวที่เครียดเกิดอาการแพ้ได้ง่ายขึ้นจนสามารถนำไปสู่การเกิดผื่นคันได้
     

ปัจจัยภายนอก

  • ผื่นคันจากสภาวะแวดล้อม อาการแพ้ไรฝุ่น มลภาวะจากท้องถนน เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ มีส่วนกระตุ้นให้ผิวเกิดการระคายได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมไปถึงสภาพอากาศที่อาจมีความร้อนจัดหรือหนาวจัดส่งผลต่อผื่นแดงหรือผิวแห้งได้ง่ายมากกว่าเดิม
     
  • ผื่นแพ้ผิวหนังจากเชื้อโรค เช่น เชื้อรา แบคทีเรียที่เติบโตอยู่บนผิวก็มีส่วนทำให้เกิดผื่นคัน หากมีการเกิดการติดเชื้ออาจทำให้อาการอักเสบบนผิวหนังกำเริบได้
     
  • ผื่นคันจากเสื้อผ้า เสื้อผ้าที่ผ้ามีความหนา อับ ไม่โปร่ง อาจทำให้เกิดความอับชื้นเพราะไม่สามารถระบายอากาศได้ ทำให้เกิดผื่นคันได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าที่ทำมาจากขนสัตว์ มักทำให้เกิดการระคายผิวได้ง่าย บางจุดเกิดเป็นผื่นแพ้เสื้อผ้าที่มักมีลักษณะเป็นผื่นแดงเป็นปื้นคันได้เช่นกัน
     
  • ผื่นแพ้จากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ไม่ว่าจะเป็น สบู่และแชมพูสำหรับผิวกาย หรือผงซักฟอก น้ำยาซักผ้าและน้ำยาปรับผ้านุ่มสำหรับเสื้อผ้า ล้วนมีสารเคมีที่ช่วยในการชำระล้างคราบไขมันต่างๆ ซึ่งสามารถทำให้ผิวเกิดอาการคันและอักเสบได้ หากมีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับผิว เช่น โลชั่นทาตัว ควรสังเกตว่ามีผดผื่นคันหรือตุ่มคันขึ้นตามร่างกายหรือไม่เพื่อสังเกตอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้น

 

ลักษณะของอาการผื่นคัน

ผื่นมีกี่แบบ? โดยการเกิดผื่นคันต่างๆ ตามร่างกายนั้นยังสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

 

1. ผื่นคันที่เกิดจากการติดเชื้อ

ผื่นคันที่เกิดจากการติดเชื้อ อาจเป็นผื่นคันจากเชื้อรา และมีปัจจัยอื่นมากระตุ้นให้เกิดอาการคัน เช่น สารเคมีจากสบู่ แชมพู ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม รวมไปถึงโลชั่นทาผิวที่ใช้ในชีวิตประจำวันด้วย 

โดยผื่นเชื้อรานั้นสามารถเกิดได้ในหลายรูปแบบ ส่วนมากสังเกตได้จากการเป็น กลาก เกลื้อน ซึ่งผื่นเชื้อราสามารถเกิดการลุกลามไปยังบริเวณอื่นได้หากทำให้เกิดการระคายผิว 

จึงควรหลีกเลี่ยงการเกาผิวหรือสวมใส่เสื้อผ้า รวมไปถึงเครื่องประดับที่อาจทำให้เกิดการระคายผิวในบริเวณที่มีผื่นคันเชื้อราได้

 

2. ผื่นคันที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

ผื่นคันที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อเกิดจากพันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคที่เกี่ยวกับการบกพร่องทางภูมิคุ้มกันของผิวหนังอาจทำให้เกิดผื่นคันได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างผื่นคันที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่

  • ผื่นแพ้อากาศ ผื่นคันแพ้ฝุ่น จากสภาพแวดล้อม การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศแห้ง มีฝุ่นมาก มีมลภาวะอย่าง ควันรถยนต์ ควันบุหรี่ ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้ผิวเกิดความระคายสูง อาจเกิดเป็นผื่นแพ้อากาศ ผื่นคันแพ้ฝุ่น แพ้เหงื่อ การดูแลสภาพแวดล้อมที่บ้านหรือที่ทำงานให้มีความเหมาะสมกับสภาพผิวจึงเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาผื่นคันอยู่แล้ว
     
  • ผื่นคันแพ้เหงื่อ นอกจากสภาพอากาศที่มีส่วนทำให้เกิดผื่นคันแพ้เหงื่อแล้ว การสวมใส่เสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าที่ทำให้เกิดการระคายจากการเสียดสีก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดผื่นคันแพ้เหงื่อได้เช่นกัน
     
  • ผื่นแพ้ตัวเอง อาการผื่นแพ้ตัวเองเป็นลักษณะผื่นคันที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแต่เป็นผื่นคันที่มาจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Lupus) ที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เกิดการต่อต้านจนส่งผลไปสู่การทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการมีผื่นแดงตามใบหน้า รวมไปถึงอาการอื่นๆ ของโรคนี้ด้วย เช่น ปวดบวมตามกระดูกข้อต่อ ขาบวม และเหนื่อยล้า เป็นต้น

นอกจากตัวอย่างลักษณะผื่นคันที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแล้ว การสัมผัสผิวบริเวณเดิมซ้ำๆ ทั้งการจงใจสัมผัสอย่างการแคะแกะเกาในบริเวณผิวแห้งคัน หรือการสัมผัสผิวด้วยมือที่อาจมีความสกปรก นอกจากจะทำให้ผิวเกิดความระคายแล้วอาจเกิดเป็นผดผื่นคันเพื่อโต้ตอบกับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่มาสัมผัสกับผิวได้

เนื่องจากผื่นคันบนผิวหนังสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ผื่นคันบางประเภทอาจมีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่การรักษาผื่นคัน ผื่นแพ้ผิวหนัง ผื่นแดง หรือผิวแห้งคัน นั้นจะต้องรักษาตามอาการและสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่น ดังนั้นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าประเภทของผื่นคันตามตัวของเรานั้นมีลักษณะอย่างไร

 

1. ผื่นคันที่เกิดจากผิวหนังอักเสบ (Eczema)

ผื่นคันที่เกิดจากผิวหนังอักเสบ เกิดจากการที่ผิวหนังไปสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ ซึ่งจะมีอาการแพ้แตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะมีผื่นแดงคันขึ้นตามตัว มีแผลพุพอง ตุ่มใส ตุ่มหนอง หรืออาจเกิดผิวหนังตกสะเก็ดได้

2. ผื่นคันที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ (Allergies)

เมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ถ้าหากใครมีอาการแพ้สารชนิดนั้นๆ เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ สารเคมีชนิดต่างๆ ก็จะเกิดผื่นคันตามตัวทั้งบนใบหน้า คอ แขน ขา จะทำให้เกิดอาการคันตรงบริเวณที่เป็นผื่นแดง ซึ่งถ้าหากเกามากเกินไป อาจทำให้เป็นแผลจนเกิดอาการแทรกซ้อนได้

3. ผื่นคันที่เกิดจากโรคลมพิษ (Hives)

ผื่นลมพิษ เกิดจากอาการแพ้สิ่งต่างๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้ยา แพ้ฝุ่น แพ้ขนสัตว์ แพ้สารเคมี ติดเชื้อ หรือดื่มแอลกอฮอล์ก็เกิดผื่นลมพิษได้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่จะมีอาการผื่นคันตามตัวทั่วร่างกาย อาจมีอาการหายใจติดขัดร่วมด้วย ปกติแล้วลมพิษจะหายเองได้ภายใน 24 ชั่วโมง แต่ถ้ามีอาการรุนแรงหรือรักษาเองแล้วไม่หายควรไปพบแพทย์ทันที 

4. ผื่นคันที่เกิดจากแมลงกัดต่อย (Bug bites)

หลายคนคงเคยโดนแมลงกัดที่ผิวกันมาบ้าง ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุงกัด ซึ่งมักจะเกิดเป็นตุ่มแดงนูนขึ้นตามจุดที่โดนกัด แล้วทำให้เกิดอาการคัน ผื่นคันหรือตุ่มคันเหล่านี้เกิดจากสารคัดหลั่ง หรือสารพิษจากแมลงชนิดนั้นๆ นอกจากอาการคันแล้ว แมลงบางชนิดอาจทำให้ผิวบวมแดง แสบร้อน หรือมีอาการไข้ แน่นหน้าอก คลื่นไส้ร่วมด้วย ถ้าหากแพ้พิษแมลงชนิดนั้นๆ

5. ผื่นคันที่เกิดจากผิวแห้ง (Dry Skin)

สำหรับในบางคนก็มีอาการผื่นคันที่เกิดจากสภาพผิวแห้งเกินไปได้เช่นกัน โดยมักจะเกิดกับผู้สูงอายุ ลักษณะอาการคือผิวจะเริ่มแห้งบ่อยขึ้น ผิวหนังลอกเป็นขุย จนเกิดอาการคันและเป็นผื่นแดง เกิดจากการสูญเสียน้ำมันเคลือบชั้นผิวที่ช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น

6. ผื่นคันที่เกิดจากผิวขาดความชุ่มชื้น (Dehydration)

เมื่อผิวขาดความชุ่มชื้นก็จะทำให้ผิวแห้งจนอาจเกิดผื่นคันได้ นอกจากจะเกิดกับผู้สูงอายุแล้ว ผิวขาดความชุ่มชื้นยังเกิดจากปัจจัยอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวันที่อาจทำให้เกิดผิวแห้ง เช่น อยู่ในอากาศเย็นและแห้ง หรืออาชีพที่ต้องเจอความร้อนสูงความชื้นน้อย 

นอกจากนี้โรคประจำตัวบางอย่างก็ทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้นจนเป็นผื่นคันได้ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ เป็นต้น 

 

วิธีการตรวจหาสาเหตุของผื่นคัน ว่าเกิดจากการแพ้อะไร

ถ้าหากมีผื่นคันขึ้นตามบริเวณต่างๆ ของร่างกายแต่ไม่รู้ว่าตัวเองมีผื่นคันจากสาเหตุการแพ้อะไร สามารถไปทำการทดสอบกับแพทย์ผิวหนังด้วยวิธีการทดสอบทางผิวหนังดังนี้ 

 

T.R.U.E. test (The thin-layer rapid-use epicutaneous test)

T.R.U.E. test (The thin-layer rapid-use epicutaneous test) ตรวจหาสาเหตุของผื่นคัน โดยจะใช้แผ่นทดสอบที่มีสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ นำไปปิดที่บริเวณหลัง รอผลเป็นเวลา 2-10 วัน นั่นเป็นเพราะผื่นแพ้ผิวหนังบางชนิดจะแสดงอาการช้าเร็วต่างกัน จากนั้นเมื่อแกะแผ่นทดสอบออกก็จะสามารถทราบถึงสาเหตุผื่นคันที่เกิดขึ้นว่ามีสาเหตุมาจากอะไร

 

ROAT test (Repeat Open Application Test)

อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยตรวจหาสาเหตุของผื่นคันที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองคือ วิธี ROAT test (Repeat Open Application Test) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Use test เป็นการนำผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าอาจทำให้แพ้จนเกิดผื่นคันมาทดสอบ ด้วยการทาเป็นจุดขนาดเล็กบริเวณท้องแขน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ทำซ้ำประมาณ 7-14 วัน ถ้าหากผิวไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่รู้สึกระคายผิวและไม่มีผื่นคันขึ้นก็แสดงว่ามีโอกาสแพ้น้อย

 

6 บริเวณที่มักเกิดผื่นคันได้ง่าย

สำหรับผื่นคันที่ขึ้นตามร่างกาย ส่วนใหญ่มักจะมีผื่นขึ้นตามตัว แขน ขา ผื่นขึ้นหน้า แต่การขึ้นของผื่นคันก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของโรคที่เป็น เช่น

  1. ผื่นคันจากอากาศร้อน หรือผื่นคันที่เกิดจากการแพ้เหงื่อตัวเอง โดยมักจะเกิดผื่นขึ้นตามบริเวณข้อพับหรือที่อับชื้น เนื่องจากเหงื่อเข้าไปอุดตันในรูขุมขน
  2. ผื่นคันที่เกิดจากผลข้างเคียงของยา มักจะมีผื่นขึ้นได้ทุกที่ของร่างกาย
  3. ผื่นคันจากโรคต่อมไขมันอักเสบ ส่วนใหญ่จะมีตุ่มคันขึ้นบนหนังศีรษะ
  4. ผื่นคันจากโรคภูมิแพ้ตัวเอง มักเกิดผื่นคันบริเวณแก้มและจมูก หรือบริเวณที่ร่างกายถูกแสงแดดบ่อยๆ
  5. ผื่นคันจากโรคลมพิษ เป็นผื่นแดงตุ่มคันได้ทุกส่วนของร่างกาย มักพบที่แขน ขา และลำตัว
  6. ผื่นคันจากการที่ผิวแห้ง ผิวขาดความชุ่มชื้น มักได้ในบริเวณที่ผิวแห้งมาก เช่น ใบหน้า บริเวณไหล่ แขน ขา เป็นต้น

สำหรับใครที่มีปัญหาผื่นคันมักจะต้องรู้สึกรำคาญใจทุกครั้งมีผื่นขึ้นตามตัว วันนี้ Bioderma ขอนำ 7 วิธีแก้และดูแลและป้องกันผื่นคันมาฝาก ดังนี้ 
 

1. การใช้ยารักษาผื่นคันตามตัว

การใช้ยารักษาผื่นคันถือเป็นอีกหนึ่งวิธีแก้ผื่นคันที่ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ยารักษาผื่นคันนั้นมีทั้งแบบยาใช้ทาแบบภายนอก รวมไปถึงยาในรูปแบบรับประทาน

  • ยารูปแบบครีม มีสรรพคุณช่วยในการรักษาอาการผื่นคัน ลดอาการระคายของผิว สำหรับใช้ทาภายนอกเพื่อรักษาผื่นคัน ตัวอย่างตัวยา เช่น ไฮโดรคอร์ติโซน (hydrocortisone) ไตรแอมซิโนโลน (triamcinolone) และ เบต้าเมทาโซน (betamethasone) พิเมโครลิมัส (Pimecrolimus) ทาโครลิมัส (Tacrolimus) เป็นต้น
     
  • ยารูปแบบรับประทาน นอกจากยาแบบทาภายนอกแล้ว การรักษาผื่นคันโดยใช้ยายังสามารถรับประทานยาเพื่อรักษาอาการได้ด้วยเช่นกัน โดยยาแบบรับประทานมักได้แก่ ยาต้านฮิสตามีนที่ช่วยในการบรรเทาอาการผื่นคัน ซึ่งมีตัวยา เช่น คลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine) ไฮดรอกไซซีน (hydroxyzine) เซทิริซีน (cetirizine) เดสลอราทาดีน (desloratadine) โดยมีข้อควรระวังในการใช้ยาคืออาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้
     

2. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดผื่น

ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดผื่นคันโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยภายนอกที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง หรืออาจจะมีการปรับให้เป็นมิตรกับผิวยิ่งขึ้น เช่น หากอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งก็ควรใช้เครื่องทำความชื้นเพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นในผิว และใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่เป็นมิตรกับผิวเพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้หรือระคายจนเกิดผื่นคัน โดยควรจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผิวบอบบาง ผิวแพ้ง่าย เพราะมักไม่มีส่วนผสมที่อาจทำให้เกิดการระคายผิวอย่างน้ำหอม แอลกอฮอล์ พาราเบน 
 

3. ไม่ใส่เสื้อรัดรูปมากเกินไป

ใครที่มีปัญหาผื่นคันการสวมใส่เสื้อผ้าก็เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยควรเลือกเสื้อผ้าที่มีความพอดีหรือใหญ่กว่าตัว ไม่รัดรูป จะช่วยลดโอกาสเสื้อผ้ารัดหรือเสียดสีผิว ช่วยให้ผิวได้พักและไม่เกิดการระคายผิว
 

4. อาบน้ำเย็น เลี่ยงน้ำร้อน

การอาบน้ำเย็นในสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย ไม่เพียงแค่ช่วยให้รู้สึกสดชื่น แต่ยังช่วยลดอาการผื่นคันที่เกิดจากการระคายผิว นอกจากนี้ อุณหภูมิที่เย็นยังช่วยกระชับรูขุมขน ลดการผลิตน้ำมันส่วนเกิน และช่วยให้ผิวดูเรียบเนียนขึ้นได้
 

5. เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง

ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังจะช่วยเสริมสร้างปราการผิวให้มีความแข็งแรงมากขึ้น ป้องกันการเกิดผิวแห้งลอกซึ่งอาจกลายเป็นผื่นคันในภายหลังได้ และที่สำคัญเพื่อป้องกันผื่นคันควรเลือกครีมบำรุงผิวเนื้อบาล์มสำหรับผิวแห้งแพ้ง่าย ผิวขาดน้ำ ซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับสมดุลแบคทีเรียบนผิว เสริมสร้างความแข็งแรงให้ผิวและลดโอกาสการเกิดเชื้อรา รวมถึงลดการระคาย ความไม่สบายผิว ทำให้ผิวเนียนนุ่มชุ่มชื้นและสุขภาพดีด้วย 

Bioderma Atoderm PP Baume

Bioderma Atoderm PP Baume

ครีมทาผิวสำหรับผิวแห้งเนื้อบาล์มสูตรเข้มข้น ช่วยเสริมสร้างผิวให้กลับมาแข็งแรง ใช้ได้ทั้งบริเวณใบหน้าและตามลำตัว มีส่วนผสมของ Vitamin PP หรือไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) ช่วยฟื้นบำรุงปราการผิวให้แข็งแรงให้ผิวเนียนนุ่มชุ่มชื้นแลดูมีสุขภาพดี ช่วยฟื้นบำรุงให้ผิวที่แห้งมาก ลอกเป็นขุย และระคายง่ายมีความชุ่มชื้นและแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

ด้วยส่วนผสมของ Ecodefensine™ Patent ช่วยสร้างสมดุลผิว, Zanthalene ช่วยลดความไม่สบายผิวลง รวมถึง Glycerin ช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น อิ่มน้ำ และ Mineralfatty substance ที่ช่วยให้ผิวเนียนนุ่มน่าสัมผัสมากยิ่งขึ้น 

Bioderma Atoderm Intensive Baume

Bioderma Atoderm Intensive Baume

ครีมทาผิว Bioderma สำหรับผู้ที่มีผิวแห้งมาก ระคายง่าย ลอกเป็นขุย ครีมบำรุงผิวเนื้อบาล์มสูตรเข้มข้นที่ช่วยเติมเต็มความชุ่มชื้นให้ผิวได้อย่างล้ำลึก เหมาะสำหรับผู้ที่มีสภาพผิวแห้งมาก ลอกเป็นขุย หรือระคายง่าย มาพร้อมกับคุณสมบัติในการคืนความชุ่มชื้นให้กับผิว ปลอบประโลมผิว ลดอาการไม่สบายผิว และเสริมสร้างปราการผิวให้มีความแข็งแรงขึ้น ช่วยให้ผิวระคายน้อยลงและชุ่มชื้นขึ้นใน 1 สัปดาห์* พร้อมเสริมการสร้างเซราไมด์และโปรตีนในผิวและฟื้นบำรุงปราการผิวให้แข็งแรงขึ้น ใช้ได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนผู้สูงอายุ

*ผลงานวิจัยจากอาสาสมัคร 20 คน อายุ 19-65 ปี ที่มีผิวแห้ง-แห้งมาก

 

6. หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นการเกิดผื่น

อาหารบางชนิดอาจกระตุ้นให้เกิดผื่นคันหรืออาการแพ้ผิวหนังได้ เช่น อาหารที่มีสารปนเปื้อนผสมอยู่มาก จำพวกพืชผักสลัดที่อาจมียาฆ่าแมลงผสม หรือเนื้อสัตว์ที่อาจมีสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อน เมื่อเป็นสารเคมีที่แปลกปลอมแล้วอาจทำให้ร่างกายเกิดอาการแพ้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้อาหารอยู่แล้ว สามารถสังเกตได้จากปฏิกิริยาของร่างกายหลังรับประทานอาหารบางประเภท และควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดผื่นคันลมพิษ 

 

7. เลี่ยงการเกาผื่นคัน

การเกาผื่นคันอาจทำให้เกิดปัญหาผิวหนังที่ร้ายแรงได้ เช่น การติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากการที่ผิวหนังถูกทำลายเมื่อเกา ทำให้แบคทีเรียเข้าสู่ผิวได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การหลีกเลี่ยงการเกาเป็นสิ่งสำคัญมากในการดูแลรักษาผื่นคัน

 

สรุป

ผื่นคันถือได้ว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการที่ผิวได้รับการแพ้ ได้รับการระคายจนนำไปสู่อาการคัน ผื่นแดง ตุ่มคันเล็กๆ ขึ้น ซึ่งเมื่อบางคนที่มีเกิดผื่นคันขึ้นก็มักจะเกา จึงยิ่งทำให้เมื่อเกาแล้วผื่นคันก็ยิ่งลามมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเกิดผื่นคันขึ้นในแต่ละคนมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างออกไป 

เช่น สาเหตุจากผิวแห้ง ลมพิษ แพ้เหงื่อ ระคายผิวจากการใส่เสื้อผ้า รวมไปถึงแมลงกัดต่อย ซึ่งการรักษาและป้องกันสามารถทำได้ง่ายๆ โดยหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างการทาครีมบำรุงผิวเพื่อป้องกันผิวแห้ง รวมไปถึงอาจจะใช้ยาในการรักษาหรือพบแพทย์เพื่อให้อาการผื่นคันนั้นดีขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายคนยังมีความกังวลเกี่ยวกับอาการผื่นคันผื่นขึ้นตามตัว ซึ่งบางครั้งเมื่อเป็นผื่นแพ้ก็จะสามารถหายเองได้ แต่บางครั้งผื่นคัน หรือตุ่มคันเหล่านี้รักษาด้วยตัวเองแล้วไม่ยอมหาย ซ้ำร้ายยังลามไปทั่ว หากไปเกาตามจุดที่คัน ทาง Bioderma จึงได้นำข้อมูลดีๆ มาตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับผื่นคันให้หายกังวล

ต้องบอกก่อนว่าผื่นคันที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ สามารถลุกลามได้ ถ้าหากไปเกาบริเวณที่เป็นผื่นแดงคันหรือตุ่มคัน เพราะจะทำให้อาการอักเสบ อาการแพ้ เชื้อรา เชื้อโรค ลุกลามไปยังผิวหนังบริเวณข้างเคียงที่ยังไม่เกิดผื่นคัน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการเกา รวมไปถึงหลีกเลี่ยงอากาศร้อน หรือกิจกรรมที่มีเหงื่อออก และควรใช้ยารักษาควบคู่ไปด้วย

เมื่อเป็นผื่นคันหลายคนมีการทายา กินยาแล้วผ่านไปหลายวันอาการก็ยังไม่ดีขึ้น ผื่นที่ขึ้นตามตัวหรืออาการคันก็ยังไม่หาย ซึ่งลักษณะแบบนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยจะต้องรู้สาเหตุของการเกิดผื่นคันที่ขึ้นตามตัวก่อน จึงจะสามารถหาวิธีแก้ผื่นคันที่ถูกต้องตามอาการได้ 

นอกจากนี้ยังต้องปรับพฤติกรรมให้หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดผื่นคัน ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน ถ้าหากรักษาเองแล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

ผื่นคันที่อาจเป็นอันตรายมีหลายประเภท เช่น ผื่นลมพิษ (Urticaria) ซึ่งทำให้เกิดอาการหายใจไม่ออกหรือบวมที่ริมฝีปากและลำคอ หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ทันที

นอกจากนี้ ผื่นที่มีจุดเลือด (Vasculitis) ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเส้นเลือดฝอย อาจทำให้เกิดแผลเรื้อรังหากไม่ได้รับการรักษา หากผื่นมีอาการร่วมเช่น ปวดศีรษะหรือไข้สูง ควรไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องเช่นกัน

ควรไปพบแพทย์เมื่อมีผื่นที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้สูง (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส) หายใจไม่สะดวก หรือบวมที่ใบหน้าและแขนขา นอกจากนี้ หากผื่นมีการเปลี่ยนสีหรือมีการเจ็บปวดร่วมด้วย ควรได้รับการตรวจสอบจากแพทย์โดยเร็ว 

อาการคันยุบยิบตามตัวมักเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การแพ้สารเคมี หรือแมลงกัดต่อย ซึ่งทำให้เกิดการระคายผิว นอกจากนี้ อาจเกิดจากโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง หรือความเครียดที่กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองเกินปกติ

อาการคันที่เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุชัดเจนอาจเกิดจากการแพ้สารเคมีที่สัมผัสกับผิวหนัง หรือการติดเชื้อ เช่น เชื้อรา หรือแบคทีเรีย นอกจากนี้ ความเครียด และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนก็เป็นตัวกระตุ้นอาการคันได้เช่นกัน

อาการผื่นคันอาจเกิดจากการขาดวิตามินบางชนิดได้  โดยเฉพาะวิตามินบี วิตามินเอ และวิตามินอี ซึ่งเป็นวิตามินสำคัญที่ช่วยบำรุงผิว หากร่างกายขาดวิตามินเหล่านี้ ผิวหนังอาจแห้งกร้านและระคายผิวได้ จนทำให้เกิดอาการคันตามมา

Bioderma Atoderm PP Baume หลอด 200 ml

Atoderm PP Baume

บำรุงผิวชุ่มชื้นยาวนาน 24 ชั่วโมง

ผิวแห้งถึงแห้งมาก

BIODERMA Atoderm Intensive baume

Atoderm Intensive baume

ครีมบำรุงผิวเนื้อเข้มข้น ช่วยปลอบประโลมผิวที่แห้งกร้าน ฟื้นบำรุงให้ผิวกลับมาชุ่มชื้น

ผิวแห้งถึงแห้งมาก