เคยสงสัยกันไหมคะ ทำไมเป็นสิวไม่หายซะที ทั้งๆที่สรรหาผลิตภัณฑ์มาทั้งรักษาและบำรุงมากมาย โดยเฉพาะสาวๆที่รักการแต่งหน้าเป็นชีวิตจิตใจ ยิ่งปกปิด ทั้ง CC, BB, CONCEALER ยิ่งถูกสิวบุกหนักกว่าเดิม

เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าทำไมเป็นสิวไม่หายซะที ทั้งๆ ที่สรรหาผลิตภัณฑ์ทั้งรักษาและบำรุงมากมาย โดยเฉพาะสาวๆ ที่รักการแต่งหน้าเป็นชีวิตจิตใจ ยิ่งปกปิด ทั้ง CC, BB, CONCEALER ยิ่งถูกสิวบุกหนักกว่าเดิม สาเหตุหนึ่งคือการทำความสะอาดผิวไม่ถูกวิธี หรือเลือกคลีนซิ่งไม่เหมาะกับสภาพผิวนั่นเอง วันนี้เรามาทำความเข้าใจการทำความสะอาดผิวกันเถอะค่ะ นอกจากจะช่วยเรื่องลดสิวแล้ว ยังช่วยชะลอริ้วรอยก่อนวัยอันควรอีกด้วย

 

โดยขั้นตอนหลักๆที่ควรปฏิบัติคือ

1.ทำความสะอาดผิวหน้าโดยใช้ ผลิตภัณฑ์คลีนซิ่ง เพื่อขจัดคราบเครื่องสำอาง

2.ทำความสะอาดเฉพาะจุดเช่น ใช้ eye makeup remover บริเวณรอบดวงตา

3.ใช้น้ำสะอาดล้างหน้าและ ตามด้วย cleanser ชนิดโฟมหรือเจล ใช้เจลล้างหน้าลูบไล้เบาๆ โดยหลีกเลี่ยงน้ำอุ่น เพราะจะทำให้ผิวแห้ง ระคายเคืองง่าย และเกิดการกระตุ้นเม็ดสี เป็นสาเหตุของ ฝ้ากระจุดด่างดำ อีกด้วย

4.บำรุงผิว ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการดูแล ตามสภาพผิว และใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงอย่างลึกซึ้งตามความต้องการ

 

หลายขั้นตอนใช่ไหมล่ะคะ กว่าจะไร้สิว ผิวสวยได้ แต่สาวๆอย่าเพิ่งเหนื่อยใจไปก่อน เพราะปัจจุบันมีนวัตกรรม Micellar Water ที่นอกจากทำความสะอาดได้หมดจดอย่างอ่อนโยนแล้วยังช่วยให้สาวๆในยุคเร่งรีบประหยัดเวลาได้อย่างมากอีกด้วย

 

Micellar Water ลักษณะเป็นน้ำใสๆ ไม่เหนียวเหนอะหนะ นวัตกรรมนี้พัฒนามาจาก Micellar เป็นสารที่เรียกว่า Surfactant ซึ่งเป็นโมเลกุลที่มี 2 ส่วน คือ ส่วนหัวที่ละลายได้ดีในน้ำ (hydrophilic end) และส่วนหางจะละลายได้ดีในไขมัน ( Lipophilic end ) ในส่วนนี้ที่จะจับกับคราบสกปรกและเครื่องสำอางบนใบหน้า ซึ่งที่จริงแล้วก็ทำงานเหมือนสบู่หรือโฟมล้างหน้านั่นเอง

 

แต่ Surfactant เช่น โฟม หรือสบู่ทั่วไปจะมีความระคายเคืองต่อผิว จึงจำเป็นต้องล้างออก แต่ ไมเซล่า วอเตอร์ (Micellar Water) ถูกพัฒนาให้มีความอ่อนโยนต่อผิวมาก ในบางโปรดักส์ยังระบุว่าสามารถใช้ได้แม้แต่บริเวณรอบดวงตาที่บอบบาง สามารถทำความสะอาดได้อย่างล้ำลึกโดยไม่จำเป็นต้องล้างน้ำออก โดยมีผลงานวิจัยที่มีแพทย์ผิวหนังให้การรับรอง

 

ปัจจุบันมี ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว ไมเซล่า วอเตอร์ (Micellar Water) วางจำหน่ายอยู่หลายแบรนด์ ซึ่งหากสาวๆจะเลือกใช้ Micellar Water เป็นผู้ช่วยสำคัญในการทำความสะอาดผิวล่ะก็ ลองพิจารณาเปรียบเทียบข้อดี ข้อเด่นของแต่ละยี่ห้ออย่างละเอียด เช่น ใช้น้ำที่เป็นน้ำบริสุทธิ์ระดับ pharmaceutical grade ที่ใช้ในวงการแพทย์ มีส่วนผสมที่ช่วยปรับสมดุลผิวหน้าให้แข็งแรง หรือช่วยลดอาการผิวระคายเคืองง่าย รวมถึงเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีผลการวิจัยรับรองและได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณที่เชื่อถือได้ เพื่อเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดให้กับผิวหน้าของเรานะคะ

 

พญ.ชุติมา อัศวอารี
แพทย์ด้านความงามและเวชศาสตร์ชะลอวัย

 

ส่วนผสมทางชีววิทยาที่ไม่มีใครเหมือน

ทำความรู้จักกับคลีนซิ่งไมเซล่า วอเตอร์ (Micellar Water) คืออะไร

เพียงแค่น้ำอย่างเดียวไม่สามารถขจัดสิ่งสกปรกและน้ำมันส่วนเกิน โดยเฉพาะน้ำมันที่สะสมบนผิวในแต่ละวันออกได้ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผลิตภัณฑ์สกินแคร์ส่วนใหญ่จึงประกอบด้วยสารทำความสะอาดหรือที่เรียกว่า “สารลดแรงตึงผิว” (Surfactants) ซึ่งสารทำความสะอาดเหล่านี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น คลีนซิ่ง วอเตอร์ แชมพู เป็นต้น โดยประเภทของสารทำความสะอาดมีมากมายหลากหลายประเภทที่ถูกนำมาใช้ในเครื่องสำอางหรือเวชสำอาง ซึ่งปัจจุบัน ไมเซล่า วอเตอร์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ดังนั้น เรามารู้จัก ความหมายของ ไมเซล่า วอเตอร์ กันนะคะ

ไมเซล่า วอเตอร์ เป็นโมเลกุลที่เรียงตัวโดยมีทั้งส่วนที่ยึดเกาะทั้งน้ำและน้ำมันให้รวมตัวเป็นโครงสร้างเดียวกัน ดังนั้นเมื่อมีการเช็ดทำความสะอาดผิวหน้า โครงสร้างของไมเซล่า วอเตอร์ จะสามารถดึงสิ่งสกปรกที่อยู่บนผิว ผลิตภัณฑ์กันแดด รวมทั้งน้ำมันส่วนเกิน ให้หลุดออกไป อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เช็ดทำความสะอาดใบหน้านั้นมีหลากหลายประเภท ดังนั้น หากเลือกไม่เหมาะสมกับผิวหนัง เป็นสารที่ก่อให้เกิดการทำร้ายปราการผิว รวมทั้งไม่อ่อนโยนต่อผิวหนัง เพราะระหว่างการเช็ดทำความสะอาด ไมเซล่า วอเตอร์ จะทำปฏิกิริยากับส่วนประกอบต่าง ๆ ของผิวหน้ง  

ซึ่งหากเลือกประเภทของไมเซล่า ที่ไม่เหมาะสมกับผิว  ผลิตภัณฑ์นั้นก็อาจทำลายเกราะปกป้องผิวตามธรรมชาติได้ ดึงน้ำมันที่จำเป็นบนผิวหนังออกมากจนเกินไป ทำให้ใบหน้าแห้งตึงหรือแห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น เกิดผิวอ่อนแอตามมาได้ นอกจากนี้ การทำความสะอาดที่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีสารผลัดเซลล์ผิวที่ไม่เหมาะสม มักจะเป็นการทำร้ายผิวมากกว่าเป็นการทำความสะอาด

ทำไมต้อง “ไมเซล่า วอเตอร์” จากไบโอเดอร์มา

ไมเซล่า วอเตอร์ ของ Bioderma ใช้ สารลดแรงตึงผิวเพียงสารเดียว และเป็นสารชนิดไม่มีประจุและอ่อนโยนต่อผิว ที่เรียกว่า “กลีเซอรอล เอสเตอร์” (Glycerol Ester) ซึ่งมีโครงสร้างเลียนแบบสารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติของผิว ดังนั้น เกราะปกป้องผิวตามธรรมชาติจึงได้รับการทำความสะอาดอย่างอ่อนโยน และไม่เป็นอันตรายต่อผิว

น้ำที่อยู่ในไมเซล่าวอเตอร์ของไบโอเดอร์มานั้น เป็นมิตรต่อเกราะปกป้องผิวตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่เว้นแม้แต่ผิวที่บอบบางแพ้ง่ายเป็นพิเศษ ด้วยส่วนประกอบที่เป็นมิตรต่อผิวที่เราเลือกมาอย่างพิถีพิถัน ไมเซล่าวอเตอร์จาก Bioderma จึงให้ความรู้สึกสบายผิว โดยไม่ทิ้งความมันหรือความเหนอะหนะไว้บนผิว

นอกจากจะล้างเครื่องสำอางออกจากผิวแล้ว ไมเซล่าวอเตอร์ของไบโอเดอร์มาทุกขวดยังทำความสะอาดผิวได้ล้ำลึก และช่วยปกป้องผิวจากสิ่งเร้าภายนอกได้อีกด้วย ไม่เพียงแค่ทำความสะอาดเครื่องสำอาง แต่ Sensibio H2O ยังสามารถขจัดสารตกค้างต่าง ๆ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็กรวมถึง ฝุ่น PM2.5 โลหะหนัก และละอองเกสรดอกไม้ได้อีกด้วย

คลีนซิ่งไบโอเดอร์มา

คลีนซิ่งมีกี่ประเภท

คลีนซิ่ง แบ่งได้เป็น 6 ประเภทดังนี้

  1. คลีนซิ่งแบบน้ำ เป็นคลีนซิ่งที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสูตร ไมเซล่า วอเตอร์ เนื่องจากล้างหน้าได้สะอาดหมดจด ไม่เหนียวเหนอะหนะ วิธีการใช้ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่เทลงบนสำลี และเช็ดจนสำลีไม่มีคราบเครื่องสำอางติดอยู่ แต่จุดสำคัญของสูตรไมเซล่า วอเตอร์ จะต่างกันที่ส่วนประกอบที่ใช้ทำความสะอาด ดังนั้นจึงควรเลือกคลีนซิ่งสูตรไมเซล่า วอเตอร์ ที่มีความอ่อนโยน ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง หรือทำให้ผิวแห้งตึงหลังเช็ดหน้า

  2. คลีนซิ่งแบบเจล เหมาะสำหรับผู้ที่แต่งหน้าเบาๆ ไม่หนักจนเกินไป คลีนซิ่งประเภทนี้ก็เหมาะเป็นอย่างมาก รูปแบบเนื้อเจล จะเป็นสีขุ่นๆเล็กน้อย ซึ่งคลีนซิ่งแบบนี้จะมีข้อดีคือ จะเพิ่มสารที่ให้ความชุ่มชื้นไปด้วย ทำให้หลังล้างหน้าแล้วหน้าไม่แห้งตึง

  3. คลีนซิ่งแบบออย เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวแห้งมากๆ บางท่านจะชอบการล้างหน้าด้วยคลีนซิ่งชนิดนี้ แต่มีข้อเสียคือ เนื่องจากมีส่วนประกอบของน้ำมันเป็นหลักทำให้มีโอกาสทิ้งคราบมันไว้ อันก่อให้เกิดการอุดตันตามมาได้

  4. คลีนซิ่งแบบน้ำนม เนื้อของคลีนซิ่งประเภทนี้จะนุ่มๆ คล้ายนม วิธีการใช้เพียงนวดเบาๆ บนใบหน้า จนเครื่องสำอางออกหมด แล้วใช้สำลีหรือฟองน้ำชุบออก ข้อเสีย อาจรู้สึกเหนียวเหนอะหนะหลังการเช็ดหน้าได้

  5. คลีนซิ่งแบบครีม ผลิตภัณฑ์ที่จะเติมส่วนผสมที่ให้ความชุ่มชื้นสูง คล้ายกับครีมบำรุง วิธีการใช้เหมือนกับ คลีนซิ่งแบบน้ำนม คลีนซิ่งประเภทนี้อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวหน้ามัน ผิวผสม ผิวมีแนวโน้มเป็นสิวได้ง่าย เนื่องจากส่วนประกอบที่เพิ่มเติมมาในคลีนซิ่งประเภทนี้จะเป็นส่วนประกอบของน้ำมันเป็นหลัก อาจทำให้ใบหน้ามีความมันเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดสิวอุดตันตามมาได้

คลีนซิ่งแบบแผ่น คลีนซิ่งประเภทนี้ ลักษณะคล้ายทิชชูเปียก จะเพิ่มในส่วนของสารประกอบที่ใช้ทำความสะอาดเพิ่มเติมขึ้นมา จุดเด่นคือ สะดวก พกพาง่าย เช่น พกขึ้นเครื่องบินระหว่างการเดินทาง แต่ในแง่ของประสิทธิภาพ อาจจะต้องใช้เป็นจำนวนมากในการทำความสะอาดแต่ละครั้ง เมื่อเทียบกับคลีนซิ่งรูปแบบอื่นๆ

 

คลีนซิ่งต่างกับโทนเนอร์อย่างไร

คลีนซิ่ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดผิวหน้า ส่วนโทนเนอร์เป็นขั้นตอนแรกของการบำรุง ปรับสมดุลสภาพผิวตามสภาพผิวที่มีปัญหา เช่น ผู้ที่มีผิวมัน โทนเนอร์จะช่วยปรับสมดุล pH และความมันบนใบหน้าให้เหมาะสม ก่อนลงครีมบำรุงอื่นๆ ในขั้นตอนถัดไป หรือในผู้ที่มีผิวบอบบางระคายเคืองง่าย โทนเนอร์จะมีสารประกอบเป็นสารที่เพิ่มความชุ่มชื้น ช่วยปลอบประโลมผิว ปรับผิวก่อนที่จะลงครีมบำรุงที่เข้มข้นมากขึ้นในขั้นตอนถัดไป โดยวิธีการใช้นั้น ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำให้ใช้ คลีนซิ่งและตามด้วยโทนเนอร์ก่อนลง เซรั่ม และครีมบำรุงผิวหน้าตามลำดับ

 

6 คุณสมบัติที่คลีนซิ่งต้องมี

  1. ขจัดสิ่งสกปรก เครื่องสำอาง ครีมกันแดด ได้อย่างหมดจด
  2. ไม่มีสารเคมีตกค้าง และไม่มีสารระคายเคืองต่างๆ อาทิเช่น แอลกอฮอล์ พาราเบน
  3. ไม่ทำให้หน้าแห้ง คัน ระคายเคือง หรือไม่ทำให้หน้ามัน
  4. อ่อนโยนและไม่ทำร้ายผิว
  5. ช่วยรักษาสมดุล pH ของผิวหน้าให้เหมาะสม ทำให้ลดโอกาสการเกิดปัญหาผิวจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียและเชื้อรา รวมทั้งทำให้ผิวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสการระเหยของน้ำตามมาได้
  6. ช่วยรักษาความแข็งแรงของชั้นผิว

 

เลือกคลีนซิ่งอย่างไรให้เหมาะกับผิว

คลีนซิ่งที่เหมาะสมนั้น นอกจากจะเป็นคลีนซิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ไม่ทำร้ายปราการผิว จนทำให้ผิวแห้งตึง อันก่อให้เกิดปัญหาผิวมากมายตามมาในระยะยาวแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก่อนการเลือกซื้อคลีนซิ่งคือ จะต้องมีส่วนประกอบสำคัญที่ดูแลปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับสภาพผิวด้วย หากทราบว่าตนเองมีประเภทผิวอย่างไรแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเพิ่มเติม นั่นก็คือ การดูส่วนประกอบสำคัญในคลีนซิ่ง ซึ่งมีหลักการพิจารณาดังนี้

  1. ผู้ที่มีผิวบอบบางระคายเคืองง่าย ควรเลือกคลีนซิ่งสำหรับผิวแพ้ง่าย ผิวบอบบาง ระคายเคืองง่ายโดยเฉพาะ ที่มีส่วนประกอบของสารที่ช่วยปลอบประโลมผิว

  2. ผู้ที่มีผิวมัน ผิวผสม ผิวมีแนวโน้มเป็นสิวได้ง่าย ควรเลือกคลีนซิ่งสำหรับผิวมัน ผิวผสมโดยเฉพาะ ที่มีส่วนประกอบของสารที่ช่วยผลัดเซลล์ผิว ลดโอกาสการเกิดสิว

  3. ผู้ที่มีผิวขาดน้ำ และผิวแห้ง ควรเลือกคลีนซิ่งสำหรับผิวแห้งโดยเฉพาะ ที่มีส่วนประกอบของสารที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นกับผิว

สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกซื้อคลีนซิ่งคือ จะต้องมีผลการวิจัยรับรองและได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณที่เชื่อถือได้ เพื่อเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดให้กับผิวหน้าของคุณ

 

 

คลีนซิ่งไบโอเดอร์มา

ไบโอเดอร์มา เวชสำอางจากฝรั่งเศส ได้คิดค้นคลีนซิ่งสำหรับประเภทผิวที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นผิวบอบบาง ระคายเคืองง่าย ผิวมัน-ผิวผสม / เป็นสิวง่าย หรือผิวแห้ง / ผิวขาดน้ำ คลีนซิ่งไบโอเดอร์มา เป็นคลีนซิ่งแบบน้ำ สูตรไมเซล่า วอเตอร์ เช็ดเครื่องสำอางได้สะอาดล้ำลึก ไม่มีสารเคมีตกค้าง อ่อนโยน ไม่ระคายเคืองผิว ไม่ทำให้หน้าแห้งตึง และมีสารที่ช่วยรักษาความแข็งแรงของชั้นผิว จึงช่วยให้ผิวแลดูมีสุขภาพดี จุดเด่นของคลีนซิ่งไบโอเดอร์มาคือ ใช้น้ำที่เป็นน้ำบริสุทธิ์ระดับ pharmaceutical grade ที่ใช้ในวงการแพทย์ ช่วยลดอาการผิวระคายเคืองง่าย และ มีผลการวิจัยรับรองและได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณที่เชื่อถือได้

คลีนซิ่งไบโอเดอร์มา-ผิวแพ้ง่าย

1. คลีนซิ่งไบโอเดอร์มา สำหรับผิวบอบบาง ระคายเคือง แพ้ง่าย

ไบโอเดอร์มา เซ็นซิบิโอ เอชทูโอ (BIODERMA Sensibio H2O) ฝาสีชมพู เป็นคลีนซิ่งสูตรไมเซล่า วอเตอร์ สำหรับเช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอางและสิ่งสกปรก ใช้ทำความสะอาดผิวหน้าและรอบดวงตา มีคุณสมบัติเด่นดังนี้

  • ทำความสะอาดเครื่องสำอางได้หมดจดถึง 99%*
  • ทำความสะอาดฝุ่นมลภาวะที่มีอนุภาคเล็กขนาด 1 ไมครอน ได้หมดจดถึง 98%** (รวมถึงฝุ่น5)
  • ทำความสะอาดโลหะหนักที่เกาะอยู่บนผิวได้ถึง 78%***
  • มีสารสกัดจากแตงกวาช่วยปลอบประโลมผิว จึงเหมาะสำหรับผิวบอบบาง ระคายเคืองง่าย
  • ปราศจากน้ำหอม ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ไม่มีสารพาราเบน ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้
  • สิทธิบัตร DERMO BREVETETM มีสารสำคัญที่มีผลงานวิจัยในการช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบของผิว และช่วยให้ความชุ่มชื้น จึงทำให้ผิวแข็งแรง รู้สึกผิวหน้าสบายขึ้นหลังใช้
คลีนซิ่งไบโอเดอร์มา-ผิวมัน-Sebium

2. คลีนซิ่งไบโอเดอร์มา สำหรับผิวมัน ผิวผสม มีแนวโน้มเป็นสิว แพ้ง่าย

ไบโอเดอร์มา ซีเบี่ยม เอชทูโอ (BIODERMA Sebium H2O) ฝาสีเขียว เป็นคลีนซิ่งสูตรไมเซล่า วอเตอร์ สำหรับเช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอางและสิ่งสกปรกบริเวณผิวหน้าได้อย่างล้ำลึก มีคุณสมบัติเด่นดังนี้

  • ลดความมันบนใบหน้าและลดโอกาสการเกิดสิว ด้วย Zinc gluconate และ Copper sulfate
  • สิทธิบัตร DERMO BREVETETM มีสารสำคัญที่มีผลงานวิจัยในการช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบของผิว และช่วยให้ความชุ่มชื้น จึงทำให้ผิวแข็งแรง รู้สึกผิวหน้าสบายขึ้นหลังใช้
คลีนซิ่งไบโอเดอร์มา-ผิวแห้ง-Hydrabio

3. คลีนซิ่งไบโอเดอร์มา สำหรับผิวแห้ง / ผิวขาดน้ำ

ไบโอเดอร์มา ไฮดราบิโอ เอชทูโอ (BIODERMA Hydrabio H2O) ฝาสีฟ้า เป็นคลีนซิ่งสูตรไมเซล่า วอเตอร์ สำหรับเช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอางและสิ่งสกปรก ใช้ทำความสะอาดผิวหน้าและรอบดวงตา เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่ายที่ขาดความชุ่มชื้นเนื่องจากปราศจากพาราเบน ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ทางผิวหนังได้ มีคุณสมบัติเด่นดังนี้

  • มีสารสกัดจากเมล็ดแอปเปิ้ล ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างท่อส่งน้ำในผิว (Aquaporins) ทำให้ผิวชุ่มชื้น
  • มีวิตามินบี 3 ช่วยกระตุ้นการสร้างเซอราไมด์ใต้ผิวหนังเสมือนเกราะป้องกันการระเหยของน้ำในผิว
  • สิทธิบัตร DERMO BREVETETM มีสารสำคัญที่มีผลงานวิจัยในการช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบของผิว และช่วยให้ความชุ่มชื้น จึงทำให้ผิวแข็งแรง รู้สึกผิวหน้าสบายขึ้นหลังใช้

*Evaluation of the make-up removing efficacy of Sensibio H2O, test on 10 volunteers, CIREC France, 2017 after x swipes of the cotton pad.

**Evaluation of the anti-pollution efficacy of Sensibio H2O, test on 12 volunteers, CIREC France, 2017

***Evaluation of the anti-pollution efficacy of Sensibio H2O against heavy metals, test on 20 volunteers, China, 2018

 

เอกสารอ้างอิง

Cutis. 2015;96:269-274.

Draelos, Procedures in Cosmetic Dermatology Series: Cosmeceuticals, 2008

Dry Skin and Moisturizers: Chemistry and Function, 2016

H.C. Korting, M. Kerscher, M. Sch, and U. Berchtenbreiter, “Influence of topical erythromycin preparations for acne vulgaris on skin surface pH,” Clin. Investig.,vol. 71, no. 8, 1993.

International Journal of Cosmetic Science, 2013, 35, 337–345

J Levin. Dermatol Clin 2016;34: 133-45